พิพิธภัณฑ์ศิลปะพระพิมพ์โบราณหริภุญชัย

อยากให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ

หนึ่งในวิธีการตรวจสอบโบราณศิลปะวัตถุ ว่าเป็นของจริงหรือสิ่งเทียมโบราณวัตถุที่ ผมได้เสนอไว้ในการประชุม Museum Expo ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คือวิธีการที่เรียกว่า Primary Treated Investigation ซึ่งกำหนดวิธีการตรวจสอบไว้ 4 รูปเเบบคือ

1) รูปเเบบรากเหง้าที่มาของศิลปะ (roots of art style ) คือการพิจารณาถึงรูปเเบบศิลปตั้งเดิมของวัตถุโบราณชิ้นนั้นว่ามีรากเหง้าที่มาจากศิลปใดเเละมีการคลี่คลายศิลปะอย่างไร ผสมผสานกับรูปเเบบศิลปะอื่นในลักษณะใด (โบราณศิลปะทุกรูปเเบบต้องมีการผสมผสานศิลปะอื่นๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง) ซึ่งโดยปรกติผู้ปลอมเเปลงงานศิลปะมักไม่ทราบที่มาของรูปเเบบนั้นๆ หากมีการพยายามทำให้เหมือนก็จะทำลายร่องรอยที่มาของตัวศิลปะทำให้เราสังเกตข้อเเตกต่างได้อย่างมีนัยสำคัญ
นั่นรวมถึงปติมานวิทยา (Iconography) ของงานศิลปะชิ้นนั้นๆ ด้วย

2) วัสดุที่นิยมใช้ในงานศิลปะยุคนั้นๆ (Materials of art production) เช่น มอญนิยมใช้ดินเผา ขอมใช้หินทราย อยุธยาเเละสุโขทัยนิยมใช้ทองสำริด เเละเครื่องเคลือบเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เราสันนิษฐานได้ในชั้นเเรกว่าควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใด ช่วงเวลาใดคร่าวๆเพราะวัสดุที่ใช้ผลิตชิ้นงานศิลปะจะสำพันธ์กับมิติของยุคสมัยเเละเวลาอีกด้วย

3) รูปเเบบการเปลี่ยนเเปลงของวัศดุที่ใช้ในการผลิตชิ้นงานศิลปะ (pattern of Art material transforming) เมื่อเราทราบชนิดของวัสดุที่ใช้ในการสร้างหรือผลิตชิ้นงานศิลปะเเล้วเราก็จะต้องเข้าใจรูปเเบบการเปลี่ยนเเปลง เปลี่ยนรูป เปลี่ยนสภาพของวัสดุนั้นๆด้วย โดยใช้องค์ความรู้ทางธรณีวิทยาพื้นฐาน เเละ ความรู้ทางด้านองค์ประกอปสะสารเเละเเร่ธาตุต่างโดยอาศัยวิธีทางวิทยาศาสตร์เช่น ศิลาเเลงเมื่อเเรกตัดออกมาจะมีลักษณะอ่อนไม่เเข็ง ต่อมาเมื่อเจอสภาวะอากาศอุณหภูมิภายนอกจะเริ่มเเข็งตัว เเละนอกจากนี้ยังมีไอรอน อ็อกไซด์ ในปริมาณที่สูงจึงทำให้มีผลทำให้พระดินเผาของลำพูนบางชิ้นมีบางสิ่งคล้ายสนิมเหล็กเกาะอยู่นั่นคือสนิมที่เกิดจากการไหลของไอรอน ที่อยู่ในศิลาเเลงเเล้วไปเกาะในพระดินเผาเป็นระยะเวลายาวนานทำให้ติดจนเเคะไม่ออก (อันนี้ไม่เกี่ยวกับพระที่ทำปลอมโดยการใช้สนิมเหล็กหยอดนะครับ)

4) สิ่งเเวดล้อม มลภาวะ ที่ตำเเหน่งที่ตั้งของงานศิลป์ชิ้นนั้น (environment polluted position) เช่น หยกในหลุมศพ จะมีสีน้ำตาลเเละคราบเเคลเซียม พระสมเด็จบางขุนพรมมีสีน้ำตาลจากคราบน้ำ เเละสีเขียวจากสนิมของพระบูชา พระลำพูนบางองค์มีสีนำ้ตาลคล้ายสนิมเหล็กจากศิลาเเลงติดอยู่เป็นต้น

ทั้งหมดนี้หากเราสามารถนำมาประยุกต์วิเคราะห์เจาะลึกอย่างเป็นระบบก็ทำให้เรามีความเเม่นยำในระดับหนึ่งในการวิเคราะห์เเยกเเยะนอกเหนือจากจากการใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งยุ่งยากเเละเสียเวลารวมถึงค่าใช้จ่ายที่สูง ผมหวังว่าวิธีการเหล่านี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนในระดับหนึ่งในการวิเคราะห์เเละเเยกเเยะวัตถุโบราณคดีของจริงกับสิ่งเทียมเลียนเเบบนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ พิพิธภัณฑ์ศิลปะพระพิมพ์โบราณหริภุญชัย