สมาคมส่องพระแท้เมืองสยาม ขอเชิญร่วมงานการประกวดพระเครื่องไทย วันอาทิตย์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ (งานประกวดย่อย ครั้งที่ ๒) ชิงถ้วย อ.นุ พระแท้เมืองสยาม นายกสมาคมส่องพระแท้เมืองสยาม ณ สมาคมส่องพระแท้เมืองสยาม...

วันนี้ขอแนะนำเหรียญหลวงพ่อทวดยอดนิยมอีกรุ่น ที่นักสะสมสายหลวงพ่อทวด วัดข้างให้ นิยมชมชอบ และเป็นเหรียญประสบการณ์สูงอีกรุ่น ที่หลายต่อหลายคนมีประสบการณ์ชนิดเฉียดเป็นเฉียดตายมาไม่น้อย โดยเฉพาะนักศึกษารุ่นเก่าที่ผ่านเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเดือนตุลาคม สมกับที่ผู้คนถวายสมัญญนามพระเครื่องหลวงพ่อทวด ว่าเป็น "พระนิรันตราย" พระเครื่องรุ่นที่ว่านี้คือเหรียญรุ่น3 มีลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม รูปทรงเสมา เป็นเหรียญที่มีจำนวนสร้างมากที่สุด หลายครั้งแบ่งแยกย่อยออกได้เป็นหลายบล็อกหลายแบบ ส่วนใหญ่สร้างเป็นรูปทรงเสมา และมีหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองแดงรมดำ หรือลงกะไหล่ หรือผิวไฟ, เนื้ออัลปาก้า, เนื้อเงิน (ลงยาและไม่ลงยา) และเนื้อทองคำ เป็นต้น นอกจากนี้ เหรียญรุ่น3ยังมีการแบ่ง แยกออกไปอีกมากมายหลายบล็อกอันเนื่องจากการปั๊มสลับไขว้แม่พิมพ์กัน ทั้งแม่พิมพ์ด้านหน้าและด้านหลัง และหลายตัวตัด เมื่อเปรียบเทียบกับเหรียญรุ่นอื่นๆเหรียญโลหะสูงค่ายอดนิยมอย่างเหรียญทองคำ และเหรียญเนื้อเงินลงยา นั้นสูงค่า หาชมยาก สนนราคามูลค่าในการสะสมนั้นแพงลิบลิ่ว หาชมได้ยาก แม้ในหนังสือตำราต่างๆ ก็จะเป็นเหรียญซ้ำๆ เหรียญที่นำมาให้ชมเป็นตัวอย่างนี้เป็นเหรียญเสมารุ่น3 ที่สร้างในปีพ.ศ.2504 เนื้ออัลปาก้าบล็อกยอดนิยมที่เรียกกันว่า "บล็อกหน้าผากสามเส้นครึ่ง" อันเป็นพิมพ์หนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แปลกแยกชัดเจนออกมา นั่นคือพิมพ์หน้าผากสามเส้นครึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มพิมพ์นิยม เช่นเดียวกับ พิมพ์ช้างปล้อง, พิมพ์ “พ”...

อยากให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ หนึ่งในวิธีการตรวจสอบโบราณศิลปะวัตถุ ว่าเป็นของจริงหรือสิ่งเทียมโบราณวัตถุที่ ผมได้เสนอไว้ในการประชุม Museum Expo ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คือวิธีการที่เรียกว่า Primary Treated Investigation ซึ่งกำหนดวิธีการตรวจสอบไว้ 4 รูปเเบบคือ 1) รูปเเบบรากเหง้าที่มาของศิลปะ (roots of art style ) คือการพิจารณาถึงรูปเเบบศิลปตั้งเดิมของวัตถุโบราณชิ้นนั้นว่ามีรากเหง้าที่มาจากศิลปใดเเละมีการคลี่คลายศิลปะอย่างไร ผสมผสานกับรูปเเบบศิลปะอื่นในลักษณะใด (โบราณศิลปะทุกรูปเเบบต้องมีการผสมผสานศิลปะอื่นๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง) ซึ่งโดยปรกติผู้ปลอมเเปลงงานศิลปะมักไม่ทราบที่มาของรูปเเบบนั้นๆ หากมีการพยายามทำให้เหมือนก็จะทำลายร่องรอยที่มาของตัวศิลปะทำให้เราสังเกตข้อเเตกต่างได้อย่างมีนัยสำคัญ นั่นรวมถึงปติมานวิทยา (Iconography) ของงานศิลปะชิ้นนั้นๆ ด้วย 2) วัสดุที่นิยมใช้ในงานศิลปะยุคนั้นๆ (Materials of art production) เช่น มอญนิยมใช้ดินเผา ขอมใช้หินทราย อยุธยาเเละสุโขทัยนิยมใช้ทองสำริด เเละเครื่องเคลือบเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เราสันนิษฐานได้ในชั้นเเรกว่าควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใด ช่วงเวลาใดคร่าวๆเพราะวัสดุที่ใช้ผลิตชิ้นงานศิลปะจะสำพันธ์กับมิติของยุคสมัยเเละเวลาอีกด้วย 3) รูปเเบบการเปลี่ยนเเปลงของวัศดุที่ใช้ในการผลิตชิ้นงานศิลปะ (pattern...